ทางหลวงในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 5 ประเภท มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2549 ได้แก่
ทางหลวงพิเศษ คือ
ทางหลวงที่จัดหรือทำไว้เพื่อให้การจราจรผ่านได้ตลอดรวดเร็วเป็นพิเศษ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงพิเศษ โดยกรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษา รวมทั้งควบคุมให้มีการเข้าออกได้เฉพาะ โดยทางเสริมที่เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงพิเศษตามที่กรมทางหลวงจัดทำขึ้นไว้เท่านั้นทางหลวงแผ่นดิน คือ
ทางหลวงสายหลักที่เป็นโครงข่ายเชื่อมระหว่างภาค จังหวัด อำเภอ ตลอดจนสถานที่สำคัญ ที่กรมทางหลวง เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษา และได้ลงทะเบียนไว้เป็น ทางหลวงแผ่นดินทางหลวงชนบท คือ
ทางหลวงที่กรมทางหลวงชบบทเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะ และบำรุงรักษา และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงชนบททางหลวงท้องถิ่น คือ
ทางหลวงที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ขยาย บูรณะและบำรุงรักษา และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงท้องถิ่นทางหลวงสัมปทาน คือ
ทางหลวงที่รัฐบาลได้สัมปทานตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้รับสัมปทาน และได้ลงทะเบียนไว้เป็นทางหลวงสัมปทานทางหลวงประเภทต่าง ๆ ให้ลงทะเบียนไว้ดังต่อไปนี้
(1) ทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงสัมปทาน อธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้จัดให้ลงทะเบียนไว้ ณ กรมทางหลวง
(2) ทางหลวงชนบท อธิบดีกรมทางหลวงชนบทเป็นผู้จัดให้ลงทะเบียนไว้ ณ กรมทางหลวงชนบท
(3) ทางหลวงท้องถิ่น ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้จัดให้ลงทะเบียนไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด
กรมทางหลวงรับผิดชอบดูแล 3 ประเภท คือ ทางหลวงพิเศษ ทางหลวงแผ่นดิน และทางหลวงสัมปทาน
นอกจากทางหลวง 5 ประเภท ดังกล่าวแล้วยังมีหน่วยงานอื่นที่รับผิดชอบในการก่อสร้าง และบูรณะทางด่วน ได้แก่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย และการดำเนินการก่อสร้างทางเฉพาะกิจของหน่วยงานต่าง ๆ
ทางหลวงสัมปทานเคยมีมาในอดีต 2 สาย คือ
1. สายเนินหลังเต่า-บ.ทุ่งเหียง ระยะทาง 14.729 กม. (ปัจจุบันกำหนดเป็นทางหลวงหมายเลข 3246)
2. สายบูเก๊ะสามี-ดุซงยอ ระยะทาง 15 กม. (ปัจจุบันกำหนดเป็นทางหลวงหมายเลข 4055)
ทางหลวงทั้ง 2 สาย หมดอายุสัมปทานไปแล้ว ในปัจจุบันกรมทางหลวงมีทางหลวงสัมปทาน 1 สาย คือ ทางยกระดับบนถนนวิภาวดีรังสิต
Cr. www.doh.go.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น