หน้าเว็บ

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ความปลอดภัย แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ความปลอดภัย แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

กรมการขนส่งทางบกแจงรายละเอียด ม.44 ฉบับที่14/2560 ประเภทรถและการคาดเข็มขัดนิรภัย และฉบับที่15/2560







  • กฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2555กำหนดให้รถยนต์ส่วนบุคคล รถแท็กซี่ และรถที่ใช้รับส่งจากสนามบิน (รถลีมูซีน) ที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 – วันที่ 31 ธันวาคม 2553 จะต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยสำหรับที่นั่งของคนขับและที่นั่งตอนหน้ารถ 
  • ส่วนรถที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป กำหนดให้ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง และสำหรับรถตู้ส่วนบุคคล รถปิคอัพ และรถสองแถวที่จดทะเบียนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2537 กำหนดให้ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยในที่นั่งของผู้ขับรถและที่นั่งตอนหน้า ทั้งนี้ รถตู้ส่วนบุคคลที่ผลิตหรือนำเข้าตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 เป็นต้นไป ต้องติดตั้งเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่ง

Cr. กรมการขนส่งทางบก

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2559

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

รถบรรทุกไม่ติดเวลา รถใหญ่วิ่งไม่ติดเวลา เดินรถได้ 16 เส้นทาง

16 เส้นทางรถบรรทุกวิ่งได้ไม่ติดเวลา | เดลินิวส์ (29/01/2558)

ข้อควรรู้ 16เส้นทางรถบรรทุกวิ่งได้ไม่ติดเวลา 
ปัจจุบันปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่กรุงเทพมหานครนอกเหนือจากรถมากแล้วการเดินรถขนส่งขนาดใหญ่ที่ใช้ความเร็วต่ำเป็นสาเหตุต้น ๆ 
จึงมีการจำกัดเวลาวิ่งของรถบรรทุกไว้ วันพฤหัสที่ 29 มกราคม 2558 เวลา 10:02 น. 
ปัจจุบันปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่กรุงเทพมหานครนอกเหนือจากรถมากแล้วการเดินรถขนส่งขนาดใหญ่ที่ใช้ความเร็วต่ำเป็นสาเหตุต้น ๆ 
จึงมีการจำกัดเวลาวิ่งของรถบรรทุกไว้ แต่มี 16 เส้นทางที่อนุญาตให้รถบรรทุกวิ่งได้โดยไม่ติดเวลา ได้แก่ 
1. ถนนอาจณรงค์ ตั้งแต่ท่าเรือคลองเตย ถึงทางด่วนเฉลิมมหานคร 
2. ถนนเกษมราษฎร์ ตั้งแต่ท่าเรือคลองเตยถึงทางด่วนเฉลิมมหานคร 
3. ถนนสุวินทวงศ์ จากแยกถนนรามอินทราถึงสุดเขตกรุงเทพฯ 
4. ถนนร่มเกล้า ที่มาจากทางนิมิตรใหม่ ให้ไปกลับรถมาแล้วตรงมาที่แยกนิมิตรใหม่ 
5. ถนนนิมิตรใหม่ ตั้งแต่ทางแยก ถนนสุวินทวงศ์ ถึงสุดเขตกรุงเทพฯ 
6. ถนนอ่อนนุช ตั้งแต่แยกร่มเกล้าถึงทางแยกถนนอ่อนนุช -บางพลี 
7. ถนนอ่อนนุช (ลาดกระบัง)-บางพลี ทางแยก ถนนอ่อนนุช ถึงสุดเขต กทม. 
8. ถนนเจ้าคุณทหาร 
9. ถนนบางนา-ตราด ตั้งแต่แยก ถนนสุขุมวิท ถึงสุดเขต กรุงเทพฯ 
10. ถนนสุขุมวิท ตั้งแต่ทางแยกบางนา-ตราด ถึงสุดเขตกรุงเทพฯ 
11. วงแหวนรอบนอก กาญจนาภิเษก ตลอดสาย 
12. ถนนพระราม 2 (ธนบุรีปากท่อ) ทางแยกสุขสวัสดิ์-สุดเขต กทม. 
13. ถนนสุขสวัสดิ์ ตั้งแต่แยกถนนพระราม 2 ถึงสุดเขต กทม. 
14. ถนนบรมราชชนนี ตั้งแต่แยกวงแหวนรอบนอก กาญจนา ถึงสุดเขต กทม. 
15. ถนนพุทธมณฑลสาย 2 ตั้งแต่แยก ถนนบรมราชชนนีถึงทางแยกถนนเพชรเกษม 
16. ถนนเพชรเกษมแยกทางแยกวงแหวนกาญจนาภิเษก ถึงสุดเขต กทม. 
นอกเหนือจากนี้ รถบรรทุก จะห้ามวิ่งตั้งแต่เวลา 06.00-09.00 น. และเวลา 16.00-20.00 น. เว้นวันหยุดราชการ.“
อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/article/297317

ขอขอบคุณข้อมูลดีดีจาก dailynews

บทความใกล้เคียง

รถติดเวลา รถบรรทุกห้ามวิ่งเวลาไหนบ้าง>>>

วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558

รถติดเวลา รถบรรทุกห้ามวิ่งเวลาไหนบ้าง

เวลาที่ห้ามรถบรรทุก รถใหญ่วิ่งในเขตกรุงเทพฯ

คลิ๊กดูภาพขนาดใหญ่

ปจ.1 , ปจ.2 เอกสารรับรองความปลอดภัย (สำหรับงานเครน งานปั่นจั่น งานยกของ งานบรรทุก)

การทดสอบความสามารถในการรับน้ำหนักของเครนเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก เพื่อป้องกันความเสี่ยงอันเนื่องจากเครนไม่สามารถรับน้ำหนักได้ขณะทำงานจริง ซึ่งจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ สร้างความเสียหาย และผลกระทบเกี่ยวเนื่องเป็นอย่างมากทั้งพนักงาน เครื่องจักร และสิ่งแวดล้อมรอบข้าง

ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยในการใช้งานเครนของท่านจึงควรมีการร้องขอดูเอกสารรับรองความปลอดภัย ปจ.1 , ปจ.2 ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการทดสอบตามหลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบตามกฏหมายกำหนด โดยวิศวกรสามัญเครื่องกลที่มีประสบการณ์ เพื่อออกเอกสารรับรองความปลอดภัย ปจ.1 , ปจ.2


ที่มา: www.asiacranesafety.com/
อย่างไรก็ตามหากจำเป็นจะต้องเช่ารถบรรทุกติดเครน หรือต้องใช้งานเครนเราควรตระหนักถึงเรื่องความปลอดภัยก่อนเป็นอันดับหนึ่ง เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุกับคนงานและเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับงาน