หน้าเว็บ

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ขนส่ง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ขนส่ง แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2567

รวมคําศัพท์ทางการค้าและการส่งออก International trade vocab (7)

 

มาต่อคำศัพท์ ตอนนี้ตอนที่ 7
ที่มา: Dictionary International Trade - DFT



CIF: Cost Insurance and Freightมูลค่าของสินค้าบวกด้วย
ค่าประกันภัย และค่าขนส่งถึงด่านศุลกากรที่นำาสินค้านั้นเข้าราชอาณาจักร
ที่ต้องจ่ายให้กับผู้ขาย/ส่งออก โดยผู้ขาย/ส่งออก เป็นผู้จ่ายต้นทุนค่าขนส่ง
และค่าประกันตามสินค้าตามที่จำาเป็นในการส่งออกไปยังท่าเรือปลายทาง

CIF.Price :ราคาCIF = ราคา FOB + ค่าประกัน + ค่าระวางเรือ (ราคา
สินค้า ณ ท่าเรือปลายทางที่รวมค่าประกันและค่าระวางเรือไว้ด้วย)

CIM: The Convention on the Contract for the International
Carriage of Goods by Roadอนุสัญญาว่าด้วยการขนส่งระหว่าง
ประเทศทางรถไฟ ค.ศ. 1970

CIP: Carriage and Insurance Paid To เป็นเทอมหนึ่งของ
สัญญามาตรฐานอินโคเทอม โดยเทอมนี้หน้าที่ของผู้ขายจะคล้ายกับเทอม

CPT แต่เพียงเพิ่มภาระหน้าที่ในการจัดหาและจัดทำาประกันภัยเพิ่มขึ้น

CIQ: China Entry – Exit Inspection and Quarantineหน่วย
งานย่อยของ AQSIQ ของจีน มีจำานวน 35 แห่ง ณ ด่านนำาเข้า-ส่งออก
ทั่วประเทศ ทำาหน้าที่ตรวจสอบสินค้า

Circumvention :การแอบอ้างแหล่งกำาเนิดสินค้า คือ การนำาสินค้าจาก
ประเทศอื่นมาแอบอ้างแหล่งกำาเนิดของอีกประเทศหนึ่งแล้วส่งออก เพื่อ
หลีกเลี่ยงมาตรการทางการค้า หรือ เพื่อให้ได้สิทธิพิเศษทางการค้าภายใต้
ข้อตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) หรือ ระบบสิทธิพิเศษ
ทางภาษีศุลกากร (Generalization System pf Preferences : GSP)

Chemical Weapon :อาวุธเคมี หมายถึง อาวุธที่ใช้สารเคมีในการ
ทำาลายล้าง

มีอีกเพียบ ติดตามได้ตอนต่อๆ ไป



อ่านต่อ รวมบทความที่เกี่ยวข้อง >> International Trade

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2567

รวมคําศัพท์ทางการค้าและการส่งออก International trade vocab (6)

 

มาต่อคำศัพท์กันดีกว่า ตอนนี้ตอนที่ 6 แล้ว
ที่มา: Dictionary International Trade - DFT

Change of Tariff Classification
การดำเนินการใช้กฎถิ่นกำเนิด
สินค้า โดยอาศัยหลักเกณฑ์ในการเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราศุลกากร

Charter Party การขนส่งโดยการเช่าเรือ หรือสัญญาเช่าเรือ

Charter Party by Demiseสัญญาเช่าเรือโดยผู้เช่ามีสิทธิในเรือ
เสมือนเจ้าของเรือ

Charter :กฎบัตร หนังสือสัญญาก่อตั้ง เป็นหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ
มีข้อผูกพันแน่นอน เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ

Charterer :ผู้เช่าเรือ
Chemical Precursor :สารตั้งต้นซึ่งใช้ในการนำไปผลิตสารเสพติด

Chemical Weapon :อาวุธเคมี หมายถึง อาวุธที่ใช้สารเคมีในการ
ทำาลายล้าง

ขอระบายหน่อย
หลังจากที่ได้มีโอกาสไปอบรม self-certification กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดที่กรมศุลกากรมา ก็รู้สึกว่าสายงานนี้ช่างซับซ้อน ที่ว่าซับซ้อนคือตอนจะขอใช้สิทธิพิเศษต่างๆ ทางด้านภาษีนี่ล่ะ ตอนจะเก็บเราล่ะง่ายจริงๆ พอเราจะใช้สิทธิขอคืน หรือขอยกเว้นบ้าง เงื่อนไขงี้เพียบเป็นกระบุงเลย 

ใครทำงานสายงานนี้มีข้อมูลมาอัพเดท หรือมาแบ่งปันกันบ้างนะคะ 

ขอบคุณค่ะ

วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2567

รวมคําศัพท์ทางการค้าและการส่งออก International trade vocab (5)

 



ที่มา: Dictionary International Trade - DFT

ทบทวนคำศัพท์กันต่อ

Back to Back
การออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแก่สินค้าส่งผ่านภายใต้ความตกลงการค้าเสรีเดียวกันโดยประเทศสมาชิกคนกลางที่สินค้าถูกส่งผ่านออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อส่งให้ลูกค้านำไปแสดงต่อศุลกากรในประเทศสมาชิกผู้นำเข้าปลายทางในการขอลดภาษีศุลกากรนำเข้า

Back to Back C/O
หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ออกโดยประเทศ
สมาชิกผู้ส่งออกสินค้าที่เป็นคนกลางโดนออกตามหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ออกโดยประเทศสมาชิกผู้ส่งออกประเทศแรก


(Balance of Trade)
หมายถึงส่วนต่างระหว่างมูลค่าของสินค้านำเข้าและสินค้าส่งออกของประเทศในแต่ละปี

BAP: Best Aquaculture Practice Standard
เป็นมาตรฐานการรับรองความปลอดภัยทางอาหารที่ได้มาจากการเพาะเลี้ยงกุ้งหรือโรงงานผลิตอาหารสัตว์นำเข้าที่กำหนดขึ้นโดนสถาบันAquacultureCertificationCouncil(ACC)

BBC: Brand – to – Brand Complementation Scheme
โครงการเปิดให้เอกชนที่ผลิตรถยี่ห้อในอาเซียนแบ่งผลิตและแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนรถยนต์เฉพาะยี่ห้อและรุ่นเดียวกันระหว่างกันโดยรับส่วนลดภาษี50%และให้ถือว่าชิ้นส่วนที่ผลิตจากโครงการเป็นชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศผู้นำเข้าปัจจุบันโครงการนี้ล้มเลิกไปโดยปริยายเนื่องจากการจัดตั้งโครงการAICO

Beneficiary
ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต/ผู้ขายสินค้า(ผู้ส่งสินค้า)(พบในเอกสารเกี่ยวกับการเงินและ L/C)

พบกับคำศัพท์เพิ่มเติมได้ตอนหน้าจ้า
บายย
see ya


วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

รวมคําศัพท์ทางการค้าและการส่งออก International trade vocab (4)

 `


หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสำหรับสินค้าหัตถกรรม ซึ่งควรจะได้นำมาเขียนตอนที่แล้ว แต่เลือกนำพวกใบตราส่งสินค้าต่างๆ มาลงก่อน
เนื่องจากอยากให้เป็นคำศัพท์แรกๆ ให้ได้ทบทวนกัน เพราะเอกสารสำหรับขอหนังสือรับรองฯต่างๆเราต้องได้เอกสารเหล่านั้นมาก่อนเสียเป็นส่วนใหญ่ 

คำศัพท์

C/O HANDICRAFTS EC Form :
หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าสําหรับสินค้าหัตถกรรม (Certificate in Regard to Certain Handicraft Product) เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้ผู้ส่งออกสําหรับสินค้าหัตถกรรมตามรายงานที่กําหนดไว้ในระเบียบการใช้สิทธิพิเศษทางการค้าของสหภาพยุโรปซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีขาเข้า

C/O HANDICRAFTS Form :
หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าสําหรับสินค้าหัตถกรรม (Certificate in Regard to Certain Handicraft Product)
เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้ผู้ส่งออกสําหรับสินค้าหัตถกรรมภายใต้สิทธิพิเศษไปยังประเทศญี่ปุ่นและแคนาดา

C/O HANDLOOM Form :
หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าสําหรับสินค้า
หัตถกรรม (Certificate in Regard to Certain Handicraft Product)
เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้ผู้ส่งออกสําหรับสินค้าผ้าไหมและผ้าฝ้ายที่ทอด้วยมือตามระเบียบการให้สิทธิพิเศษทางการค้าของสหภาพยุโรปซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีขาเข้า

C/O ICO Form :
คําขอหนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้ากาแฟตามแบบของ International Coffee Organization

C/O JTEPA Form :หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าแบบเจเทปปาเป็นหนังสือรับรองที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทยญี่ปุ่น (JTEPA)

ที่มาDictionary International Trade - DFT

เพิ่มเติมนะ
หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า แบบที่ใช้ขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ความตกลงอะไรก็ตาม ขอให้พวกเราหมั่นติดตามข่าวสาร เรื่องการเปลี่ยนแปลง ข้อตกลง หรือมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบฟอร์มต่างๆ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นประโยชน์ของตัวเราเอง และองค์กรของเรา
ไม่ให้เสียสิทธิประโยชน์ เพียงเพราะเราพลาดท่าเสียที รู้ไม่ทันเขา

ขอขอบคุณที่ติดตาม
ครั้งหน้ายังมี คำศัพท์ที่สำคัญๆ มาให้อ่านกันอีก รอติดตามกันได้จ้ะ

วันพุธที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2566

รวมคําศัพท์ทางการค้าและการส่งออก International trade vocab (3)

 


รวมคําศัพท์ทางการค้าและการส่งออก(3)

ที่มา: Dictionary International Trade - DFT


Authorization Lists: Candidate List of Substances of
Very High Concern for Authorization
บัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายที่ถูกคัดเลือกจากCandidateListsแล้วภายใต้ระเบียบ
REACHซึ่งการจะใช้สารเคมีเหล่านี้ต้องขออนุญาตเป็นการเฉพาะอย่างเท่านั้น

Authorization to Reimburse
หนังสือการให้สิทธิใช้เงินคืนAvailable withธนาคารที่L/Cระบุให้ขึ้นเงินได้ (พบในเอกสารเกี่ยวกับการเงินและL/C)

Average Clause
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเฉลี่ยความเสียหาย

AWB: Airway Bill
ใบกำกับสินค้าทางอากาศ

Bilateralism
ระบบทวิภาคี

B/L: Bill of Lading
ใบตราส่งสินค้าทางเรือ

วันนี้เอาไปเท่านี้ก่อน ครั้งหน้ามาต่อศัพท์ยากๆอีก ;)

ขอเพิ่มเติม ให้ว่าบางครั้งเวลาเราได้คุยอีเมล์กับทางลูกค้าต่างประเทศ
หรือแม้แต่กับผู้ให้บริการ freight forwarder ของเราเป็นภาษาอังกฤษ
เราอาจจะได้พบกับตัวย่อของคำศัพท์ต่างๆ แตกแขนง แตกการใช้ออกมาอีก
เช่น
OBL : Original Bill of Lading  ก็คือใบตราส่งสินค้าฉบับจริง หรือตัวต้นฉบับนั้นเอง
P/L : Packing list ใบบรรจุหีบห่อ 

เป็นต้น 

ในหลายๆคำ นอกจากจะหาอ่านจากตำราแล้ว เราก็จะได้เรียนรู้ และจดจำจากการ
ทำงานอยู่ทุกๆวันของเรานั่นเอง และเราก็จะเคยชินจนสามารถนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวันหรือการงานต่างๆของเราได้อย่างไม่ติดขัดอีกต่อไป

บทความรวมคำศัพท์ทางการค้าและการส่งออกยังไม่จบง่ายๆ เพราะยิ่งทำงานทุกวัน
เจอคำศัพท์ยากๆมาก็เยอะ อยากศึกษาเพิ่มเติมไปพร้อมกับแบ่งปันเพื่อนๆ ร่วมสายงาน
ยังไงติดตามต่อได้ รวมคำศัพท์ฯตอน 4 ครั้งหน้า

บายยย 
see ya!




 

วันเสาร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2566

รวมคําศัพท์ทางการค้าและการส่งออก International trade vocab (2)

  



รวมคําศัพท์ทางการค้าและการส่งออก(2)

C/O Form FTA :
หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า แบบเอฟ ที เอ เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษตามความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ เช่น ไทย – ออสเตรเลีย ไทย – นิวซีแลนด์ ไทย – อินเดีย เป็นต้น

C/O Form GSTP :
หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า แบบจี เอส ที พี เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้กับผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษภายใต้ระบบการแลกเปลี่ยนสิทธิพิเศษทางการค้าระหว่างประเทศกําลังพัฒนา
(GSTP: Global System of Trade Preferences) ได้แก่ แอลจีเรีย อังโกลา
อาร์เจนติน่า บังกลาเทศ เบนิน โบลิเวีย บราซิล แคเมอรูน ชิลี โคลัมเบีย คิวบา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี เอกวาดอร์ อียิปต์ กานา กีเนีย กายอานา ไฮติ อินเดีย อินโดนีเซีย อิหร่าน อิรัก ลิเบีย มาเลเซีย เม็กซิโก โมร็อคโค โมซัมบิค นิการากัว ไนจีเรีย ปากีสถาน เปรู ฟิลิปปินส์ การ์ตา สาธารณรัฐเกาหลี สิงคโปร์ ศรีลังกา ซูดาน แทนซาเนีย ประเทศไทย ตรินิแดดและโตเบโก ตูนีเซีย อุรุกวัย เวเนซูเอล่า เวียดนาม ยูโกสลาเวีย ซาอีร์และซิมบับเว

C/O General Form :
หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าทั่วไป ที่ไม่ได้รับ
สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร คือ หนังสือรับรองที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อ
รับรองว่าสินค้าที่ระบุในหนังสือรับรอง มีถิ่นกําเนิดจากประเทศผู้ส่งออก
หนังสือรับรองจริง และใช้เป็นเอกสารประกอบการนําเข้าตามระเบียบการนําเข้าของประเทศปลายทางหรือตามเงื่อนไงของผู้นําเข้าท่านนั้น ไม่สามารถใช้เพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร


ครั้งหน้าจะมาต่อ ฟอร์ม สำหรับส่งสินค้าหัตถกรรมบ้าง อย่าลืมติดตาม หรือสงสัยก็สามารถสอบถามได้เช่นกันค่ะ


 

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

รวมคําศัพท์ทางการค้าและการส่งออก International trade vocab (1)



จากประสบการณ์ทำงานสายโลจิสติกส์มาระยะนึง โดยที่ก่อนเข้ามาทำงานสายนี้ไม่ค่อยมีความรู้ด้านการค้า การส่งออกมากนักเนื่องจากไม่ได้เรียนจบมาในสาขานี้แต่พอได้มีโอกาสมาทำก็รู้สึกว่าเป็นอีกสายงานนึงที่ต้องมีความรู้เฉพาะด้านอยู่เหมือนกันครั้งนี้จึงอยากเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศและการนำเข้า-ส่งออก มารวบรวมไว้เพื่อเป็นประโยชน์ และเป็นเสมือนการได้ทบทวนความรู้ในการทำงานควบคู่ไปด้วย

บทความแรกนี้ขอนำคำศัพท์ที่ใช้บ่อย และควรรู้ในการทำการค้าระหว่างประเทศมาให้ได้อ่านกัน คำศัพท์เหล่านี้เราจะได้พบแน่ๆ ในเอกสารสำคัญต่างๆ ของการค้าขายระหว่างประเทศ เจอกันแบบเป็นห่วงลูกโซ่ ตั้งแต่สัญญาซื้อขาย การส่งออก การเงิน การธนาคาร ไปจนจบกระบวนการซื้อขาย และรับมอบสินค้าที่ปลายทาง
หนังสือรับรองถิ่นกำเนิด มีแบบทั้งใช้เพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางด้านภาษีและใช้รับรองถิ่นกำเนิดแบบทั่วไป ตัวย่อ และคำศัพท์มีดังนี้

รวมคําศัพท์ทางการค้าและการส่งออก (1)


C/O (Certificate of Origin) :
หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า มีหลายชนิดทั้งแบบที่ใช้เพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร เช่น ฟอร์ม A, ฟอร์ม D, ฟอร์ม E, ฟอร์ม FTA, ฟอร์ม GSTP เป็นต้น และแบบทั่วไปที่ใช้รับรองถิ่นกําเนิดของสินค้าเท่านั้น ไม่สามารถใช้เพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีได้ ได้แก่ หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าทั่วไป (Form C/O ทั่วไป) หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป (Certificate of Origin for Textile Products) และหนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าไปเม็กซิโก (ANEXO II)

C/O ANEXO II Form :
หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าไปเม็กซิโก


C/O Form A :
หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า แบบเอ เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปหรือ GSP โดยจะได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีขาเข้าสําหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษ GSP ได้แก่ สหภาพยุโรป แคนาดา ญี่ปุ่น นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ ประชาคมรัฐอิสระ (CIS)

C/O Form D :
หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า แบบดี เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษตามความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement) สําหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA: Asean Free Trade Area) ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูช

C/O Form E :
หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า แบบอี เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษตามความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีอาเซียน สําหรับสินค้าที่ส่งไปจีน

สำหรับบทความนี้ขอนำเสนอเพียงเท่านี้ก่อน พบกับคำศัพท์ฟอร์มหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดพิ่มเติมได้ในบทความหน้า 

ที่มา: Dictionary International Trade - DFT