หน้าเว็บ

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Incoterm แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ Incoterm แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2567

รวมคําศัพท์ทางการค้าและการส่งออก International trade vocab (7)

 

มาต่อคำศัพท์ ตอนนี้ตอนที่ 7
ที่มา: Dictionary International Trade - DFT



CIF: Cost Insurance and Freightมูลค่าของสินค้าบวกด้วย
ค่าประกันภัย และค่าขนส่งถึงด่านศุลกากรที่นำาสินค้านั้นเข้าราชอาณาจักร
ที่ต้องจ่ายให้กับผู้ขาย/ส่งออก โดยผู้ขาย/ส่งออก เป็นผู้จ่ายต้นทุนค่าขนส่ง
และค่าประกันตามสินค้าตามที่จำาเป็นในการส่งออกไปยังท่าเรือปลายทาง

CIF.Price :ราคาCIF = ราคา FOB + ค่าประกัน + ค่าระวางเรือ (ราคา
สินค้า ณ ท่าเรือปลายทางที่รวมค่าประกันและค่าระวางเรือไว้ด้วย)

CIM: The Convention on the Contract for the International
Carriage of Goods by Roadอนุสัญญาว่าด้วยการขนส่งระหว่าง
ประเทศทางรถไฟ ค.ศ. 1970

CIP: Carriage and Insurance Paid To เป็นเทอมหนึ่งของ
สัญญามาตรฐานอินโคเทอม โดยเทอมนี้หน้าที่ของผู้ขายจะคล้ายกับเทอม

CPT แต่เพียงเพิ่มภาระหน้าที่ในการจัดหาและจัดทำาประกันภัยเพิ่มขึ้น

CIQ: China Entry – Exit Inspection and Quarantineหน่วย
งานย่อยของ AQSIQ ของจีน มีจำานวน 35 แห่ง ณ ด่านนำาเข้า-ส่งออก
ทั่วประเทศ ทำาหน้าที่ตรวจสอบสินค้า

Circumvention :การแอบอ้างแหล่งกำาเนิดสินค้า คือ การนำาสินค้าจาก
ประเทศอื่นมาแอบอ้างแหล่งกำาเนิดของอีกประเทศหนึ่งแล้วส่งออก เพื่อ
หลีกเลี่ยงมาตรการทางการค้า หรือ เพื่อให้ได้สิทธิพิเศษทางการค้าภายใต้
ข้อตกลงเขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) หรือ ระบบสิทธิพิเศษ
ทางภาษีศุลกากร (Generalization System pf Preferences : GSP)

Chemical Weapon :อาวุธเคมี หมายถึง อาวุธที่ใช้สารเคมีในการ
ทำาลายล้าง

มีอีกเพียบ ติดตามได้ตอนต่อๆ ไป



อ่านต่อ รวมบทความที่เกี่ยวข้อง >> International Trade

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2567

รวมคําศัพท์ทางการค้าและการส่งออก International trade vocab (6)

 

มาต่อคำศัพท์กันดีกว่า ตอนนี้ตอนที่ 6 แล้ว
ที่มา: Dictionary International Trade - DFT

Change of Tariff Classification
การดำเนินการใช้กฎถิ่นกำเนิด
สินค้า โดยอาศัยหลักเกณฑ์ในการเปลี่ยนแปลงพิกัดอัตราศุลกากร

Charter Party การขนส่งโดยการเช่าเรือ หรือสัญญาเช่าเรือ

Charter Party by Demiseสัญญาเช่าเรือโดยผู้เช่ามีสิทธิในเรือ
เสมือนเจ้าของเรือ

Charter :กฎบัตร หนังสือสัญญาก่อตั้ง เป็นหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ
มีข้อผูกพันแน่นอน เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ

Charterer :ผู้เช่าเรือ
Chemical Precursor :สารตั้งต้นซึ่งใช้ในการนำไปผลิตสารเสพติด

Chemical Weapon :อาวุธเคมี หมายถึง อาวุธที่ใช้สารเคมีในการ
ทำาลายล้าง

ขอระบายหน่อย
หลังจากที่ได้มีโอกาสไปอบรม self-certification กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดที่กรมศุลกากรมา ก็รู้สึกว่าสายงานนี้ช่างซับซ้อน ที่ว่าซับซ้อนคือตอนจะขอใช้สิทธิพิเศษต่างๆ ทางด้านภาษีนี่ล่ะ ตอนจะเก็บเราล่ะง่ายจริงๆ พอเราจะใช้สิทธิขอคืน หรือขอยกเว้นบ้าง เงื่อนไขงี้เพียบเป็นกระบุงเลย 

ใครทำงานสายงานนี้มีข้อมูลมาอัพเดท หรือมาแบ่งปันกันบ้างนะคะ 

ขอบคุณค่ะ

วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2567

รวมคําศัพท์ทางการค้าและการส่งออก International trade vocab (5)

 



ที่มา: Dictionary International Trade - DFT

ทบทวนคำศัพท์กันต่อ

Back to Back
การออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแก่สินค้าส่งผ่านภายใต้ความตกลงการค้าเสรีเดียวกันโดยประเทศสมาชิกคนกลางที่สินค้าถูกส่งผ่านออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อส่งให้ลูกค้านำไปแสดงต่อศุลกากรในประเทศสมาชิกผู้นำเข้าปลายทางในการขอลดภาษีศุลกากรนำเข้า

Back to Back C/O
หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ออกโดยประเทศ
สมาชิกผู้ส่งออกสินค้าที่เป็นคนกลางโดนออกตามหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ออกโดยประเทศสมาชิกผู้ส่งออกประเทศแรก


(Balance of Trade)
หมายถึงส่วนต่างระหว่างมูลค่าของสินค้านำเข้าและสินค้าส่งออกของประเทศในแต่ละปี

BAP: Best Aquaculture Practice Standard
เป็นมาตรฐานการรับรองความปลอดภัยทางอาหารที่ได้มาจากการเพาะเลี้ยงกุ้งหรือโรงงานผลิตอาหารสัตว์นำเข้าที่กำหนดขึ้นโดนสถาบันAquacultureCertificationCouncil(ACC)

BBC: Brand – to – Brand Complementation Scheme
โครงการเปิดให้เอกชนที่ผลิตรถยี่ห้อในอาเซียนแบ่งผลิตและแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนรถยนต์เฉพาะยี่ห้อและรุ่นเดียวกันระหว่างกันโดยรับส่วนลดภาษี50%และให้ถือว่าชิ้นส่วนที่ผลิตจากโครงการเป็นชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศผู้นำเข้าปัจจุบันโครงการนี้ล้มเลิกไปโดยปริยายเนื่องจากการจัดตั้งโครงการAICO

Beneficiary
ผู้รับประโยชน์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต/ผู้ขายสินค้า(ผู้ส่งสินค้า)(พบในเอกสารเกี่ยวกับการเงินและ L/C)

พบกับคำศัพท์เพิ่มเติมได้ตอนหน้าจ้า
บายย
see ya


วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566

รวมคําศัพท์ทางการค้าและการส่งออก International trade vocab (4)

 `


หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสำหรับสินค้าหัตถกรรม ซึ่งควรจะได้นำมาเขียนตอนที่แล้ว แต่เลือกนำพวกใบตราส่งสินค้าต่างๆ มาลงก่อน
เนื่องจากอยากให้เป็นคำศัพท์แรกๆ ให้ได้ทบทวนกัน เพราะเอกสารสำหรับขอหนังสือรับรองฯต่างๆเราต้องได้เอกสารเหล่านั้นมาก่อนเสียเป็นส่วนใหญ่ 

คำศัพท์

C/O HANDICRAFTS EC Form :
หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าสําหรับสินค้าหัตถกรรม (Certificate in Regard to Certain Handicraft Product) เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้ผู้ส่งออกสําหรับสินค้าหัตถกรรมตามรายงานที่กําหนดไว้ในระเบียบการใช้สิทธิพิเศษทางการค้าของสหภาพยุโรปซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีขาเข้า

C/O HANDICRAFTS Form :
หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าสําหรับสินค้าหัตถกรรม (Certificate in Regard to Certain Handicraft Product)
เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้ผู้ส่งออกสําหรับสินค้าหัตถกรรมภายใต้สิทธิพิเศษไปยังประเทศญี่ปุ่นและแคนาดา

C/O HANDLOOM Form :
หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าสําหรับสินค้า
หัตถกรรม (Certificate in Regard to Certain Handicraft Product)
เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้ผู้ส่งออกสําหรับสินค้าผ้าไหมและผ้าฝ้ายที่ทอด้วยมือตามระเบียบการให้สิทธิพิเศษทางการค้าของสหภาพยุโรปซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีขาเข้า

C/O ICO Form :
คําขอหนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้ากาแฟตามแบบของ International Coffee Organization

C/O JTEPA Form :หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าแบบเจเทปปาเป็นหนังสือรับรองที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทยญี่ปุ่น (JTEPA)

ที่มาDictionary International Trade - DFT

เพิ่มเติมนะ
หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า แบบที่ใช้ขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้ความตกลงอะไรก็ตาม ขอให้พวกเราหมั่นติดตามข่าวสาร เรื่องการเปลี่ยนแปลง ข้อตกลง หรือมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบฟอร์มต่างๆ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นประโยชน์ของตัวเราเอง และองค์กรของเรา
ไม่ให้เสียสิทธิประโยชน์ เพียงเพราะเราพลาดท่าเสียที รู้ไม่ทันเขา

ขอขอบคุณที่ติดตาม
ครั้งหน้ายังมี คำศัพท์ที่สำคัญๆ มาให้อ่านกันอีก รอติดตามกันได้จ้ะ

วันพุธที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2566

รวมคําศัพท์ทางการค้าและการส่งออก International trade vocab (3)

 


รวมคําศัพท์ทางการค้าและการส่งออก(3)

ที่มา: Dictionary International Trade - DFT


Authorization Lists: Candidate List of Substances of
Very High Concern for Authorization
บัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายที่ถูกคัดเลือกจากCandidateListsแล้วภายใต้ระเบียบ
REACHซึ่งการจะใช้สารเคมีเหล่านี้ต้องขออนุญาตเป็นการเฉพาะอย่างเท่านั้น

Authorization to Reimburse
หนังสือการให้สิทธิใช้เงินคืนAvailable withธนาคารที่L/Cระบุให้ขึ้นเงินได้ (พบในเอกสารเกี่ยวกับการเงินและL/C)

Average Clause
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเฉลี่ยความเสียหาย

AWB: Airway Bill
ใบกำกับสินค้าทางอากาศ

Bilateralism
ระบบทวิภาคี

B/L: Bill of Lading
ใบตราส่งสินค้าทางเรือ

วันนี้เอาไปเท่านี้ก่อน ครั้งหน้ามาต่อศัพท์ยากๆอีก ;)

ขอเพิ่มเติม ให้ว่าบางครั้งเวลาเราได้คุยอีเมล์กับทางลูกค้าต่างประเทศ
หรือแม้แต่กับผู้ให้บริการ freight forwarder ของเราเป็นภาษาอังกฤษ
เราอาจจะได้พบกับตัวย่อของคำศัพท์ต่างๆ แตกแขนง แตกการใช้ออกมาอีก
เช่น
OBL : Original Bill of Lading  ก็คือใบตราส่งสินค้าฉบับจริง หรือตัวต้นฉบับนั้นเอง
P/L : Packing list ใบบรรจุหีบห่อ 

เป็นต้น 

ในหลายๆคำ นอกจากจะหาอ่านจากตำราแล้ว เราก็จะได้เรียนรู้ และจดจำจากการ
ทำงานอยู่ทุกๆวันของเรานั่นเอง และเราก็จะเคยชินจนสามารถนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวันหรือการงานต่างๆของเราได้อย่างไม่ติดขัดอีกต่อไป

บทความรวมคำศัพท์ทางการค้าและการส่งออกยังไม่จบง่ายๆ เพราะยิ่งทำงานทุกวัน
เจอคำศัพท์ยากๆมาก็เยอะ อยากศึกษาเพิ่มเติมไปพร้อมกับแบ่งปันเพื่อนๆ ร่วมสายงาน
ยังไงติดตามต่อได้ รวมคำศัพท์ฯตอน 4 ครั้งหน้า

บายยย 
see ya!




 

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

รวมคําศัพท์ทางการค้าและการส่งออก International trade vocab (1)



จากประสบการณ์ทำงานสายโลจิสติกส์มาระยะนึง โดยที่ก่อนเข้ามาทำงานสายนี้ไม่ค่อยมีความรู้ด้านการค้า การส่งออกมากนักเนื่องจากไม่ได้เรียนจบมาในสาขานี้แต่พอได้มีโอกาสมาทำก็รู้สึกว่าเป็นอีกสายงานนึงที่ต้องมีความรู้เฉพาะด้านอยู่เหมือนกันครั้งนี้จึงอยากเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศและการนำเข้า-ส่งออก มารวบรวมไว้เพื่อเป็นประโยชน์ และเป็นเสมือนการได้ทบทวนความรู้ในการทำงานควบคู่ไปด้วย

บทความแรกนี้ขอนำคำศัพท์ที่ใช้บ่อย และควรรู้ในการทำการค้าระหว่างประเทศมาให้ได้อ่านกัน คำศัพท์เหล่านี้เราจะได้พบแน่ๆ ในเอกสารสำคัญต่างๆ ของการค้าขายระหว่างประเทศ เจอกันแบบเป็นห่วงลูกโซ่ ตั้งแต่สัญญาซื้อขาย การส่งออก การเงิน การธนาคาร ไปจนจบกระบวนการซื้อขาย และรับมอบสินค้าที่ปลายทาง
หนังสือรับรองถิ่นกำเนิด มีแบบทั้งใช้เพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางด้านภาษีและใช้รับรองถิ่นกำเนิดแบบทั่วไป ตัวย่อ และคำศัพท์มีดังนี้

รวมคําศัพท์ทางการค้าและการส่งออก (1)


C/O (Certificate of Origin) :
หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า มีหลายชนิดทั้งแบบที่ใช้เพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร เช่น ฟอร์ม A, ฟอร์ม D, ฟอร์ม E, ฟอร์ม FTA, ฟอร์ม GSTP เป็นต้น และแบบทั่วไปที่ใช้รับรองถิ่นกําเนิดของสินค้าเท่านั้น ไม่สามารถใช้เพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีได้ ได้แก่ หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าทั่วไป (Form C/O ทั่วไป) หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป (Certificate of Origin for Textile Products) และหนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าไปเม็กซิโก (ANEXO II)

C/O ANEXO II Form :
หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าไปเม็กซิโก


C/O Form A :
หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า แบบเอ เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปหรือ GSP โดยจะได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีขาเข้าสําหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษ GSP ได้แก่ สหภาพยุโรป แคนาดา ญี่ปุ่น นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ ประชาคมรัฐอิสระ (CIS)

C/O Form D :
หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า แบบดี เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษตามความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement) สําหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA: Asean Free Trade Area) ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูช

C/O Form E :
หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า แบบอี เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษตามความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีอาเซียน สําหรับสินค้าที่ส่งไปจีน

สำหรับบทความนี้ขอนำเสนอเพียงเท่านี้ก่อน พบกับคำศัพท์ฟอร์มหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดพิ่มเติมได้ในบทความหน้า 

ที่มา: Dictionary International Trade - DFT