หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

รถยนต์ส่วนบุคคลที่มีอายุใช้งานเกิน 7 ปี และจักรยานต์อายุเกิน 5 ปี สามารถยื่นชำระภาษีออนไลน์ได้แล้วนะ

ถยนต์ส่วนบุคคลที่มีอายุใช้งานเกิน 7 ปี และจักรยานต์อายุเกิน 5 ปี สามารถยื่นชำระภาษีออนไลน์ได้แล้วทั้งนี้ต้องผ่านการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ก่อนที่มา กรมขนส่งทางบก

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

รวมคําศัพท์ทางการค้าและการส่งออก International trade vocab (1)



จากประสบการณ์ทำงานสายโลจิสติกส์มาระยะนึง โดยที่ก่อนเข้ามาทำงานสายนี้ไม่ค่อยมีความรู้ด้านการค้า การส่งออกมากนักเนื่องจากไม่ได้เรียนจบมาในสาขานี้แต่พอได้มีโอกาสมาทำก็รู้สึกว่าเป็นอีกสายงานนึงที่ต้องมีความรู้เฉพาะด้านอยู่เหมือนกันครั้งนี้จึงอยากเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศและการนำเข้า-ส่งออก มารวบรวมไว้เพื่อเป็นประโยชน์ และเป็นเสมือนการได้ทบทวนความรู้ในการทำงานควบคู่ไปด้วย

บทความแรกนี้ขอนำคำศัพท์ที่ใช้บ่อย และควรรู้ในการทำการค้าระหว่างประเทศมาให้ได้อ่านกัน คำศัพท์เหล่านี้เราจะได้พบแน่ๆ ในเอกสารสำคัญต่างๆ ของการค้าขายระหว่างประเทศ เจอกันแบบเป็นห่วงลูกโซ่ ตั้งแต่สัญญาซื้อขาย การส่งออก การเงิน การธนาคาร ไปจนจบกระบวนการซื้อขาย และรับมอบสินค้าที่ปลายทาง
หนังสือรับรองถิ่นกำเนิด มีแบบทั้งใช้เพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางด้านภาษีและใช้รับรองถิ่นกำเนิดแบบทั่วไป ตัวย่อ และคำศัพท์มีดังนี้

รวมคําศัพท์ทางการค้าและการส่งออก (1)


C/O (Certificate of Origin) :
หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า มีหลายชนิดทั้งแบบที่ใช้เพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร เช่น ฟอร์ม A, ฟอร์ม D, ฟอร์ม E, ฟอร์ม FTA, ฟอร์ม GSTP เป็นต้น และแบบทั่วไปที่ใช้รับรองถิ่นกําเนิดของสินค้าเท่านั้น ไม่สามารถใช้เพื่อขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีได้ ได้แก่ หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าทั่วไป (Form C/O ทั่วไป) หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ส่งออกไปยังสหภาพยุโรป (Certificate of Origin for Textile Products) และหนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าไปเม็กซิโก (ANEXO II)

C/O ANEXO II Form :
หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าไปเม็กซิโก


C/O Form A :
หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า แบบเอ เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไปหรือ GSP โดยจะได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีขาเข้าสําหรับสินค้าที่ส่งออกไปยังประเทศผู้ให้สิทธิพิเศษ GSP ได้แก่ สหภาพยุโรป แคนาดา ญี่ปุ่น นอร์เวย์ สวิตเซอร์แลนด์ ประชาคมรัฐอิสระ (CIS)

C/O Form D :
หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า แบบดี เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษตามความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement) สําหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA: Asean Free Trade Area) ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูช

C/O Form E :
หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้า แบบอี เป็นหนังสือรับรองที่ออกให้แก่ผู้ส่งออกเพื่อใช้ในการขอรับสิทธิพิเศษตามความตกลงว่าด้วยเขตการค้าเสรีอาเซียน สําหรับสินค้าที่ส่งไปจีน

สำหรับบทความนี้ขอนำเสนอเพียงเท่านี้ก่อน พบกับคำศัพท์ฟอร์มหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดพิ่มเติมได้ในบทความหน้า 

ที่มา: Dictionary International Trade - DFT